บันทึกครั้งที่ 4
บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
วิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤณ แจ่มถิน
วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม 2556
ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.10 เวลาเข้าเรียน 13.10 เวลาเลิกเรียน 16.40
วันนี้
แต่ละกลุ่มนำเสนองานตามใบงานที่ได้รับมอบหมาย
กลุ่มที่ 1 การใช้ภาษาของเด็กปฐมวัย
กระบวนการพัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างของร่างกายและแบบแผนของร่างกายทุกส่วน การเปลี่ยนแปลงนี้จะก้าวหน้าไปเรื่อยๆเป็นขั้นอตน จากระยะหนึ่งไปอีกระยะหนึ่ง ทำให้เด็กมีลักษณะและความสามารถใหม่ๆ เกิดขึ้น ซึ่งมีผลทำให้เจริญก้าวหน้าตามลำดับทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
องค์ประกอบของสติปัญญา
1. ความสามารถทางภาษา
1. ความสามารถทางภาษา
2. ความสามารถทางตัวเลข
3. ความสามารถทางการใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา
4. ความสามารถทางการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ
5. ความสามารถทางความจำ
6. ความสามารถทางเชิงสังเกต
7. ความสามารถทางมิติสัมพันธ์
โครงสร้างของสติปัญญา (สติปัญญาเน้นสร้างและระดับทางการคิด)
1. การรับรู้
2. ความจำ
3. การเกิดความคิดเห็น
พัฒนาการของเด็กปฐมวัย
- วัยทารกอายุแรกเกิด-2ปี พัฒนาการเด็กในช่วงนี้เป็นรากฐานสำคัญ มีพัฒนาการทางร่างกายมากกว่าทุกวัย ปกติมากกว่า 2 เท่า และจะลดลงถึง 30% การใช้ปฏิกิริยาสะท้อนกลับมากระทบจะเกิดขึ้นซ้ำอีกเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เด็กมีทั้งสิ้น 11 อารมณ์
- วัยทารกอายุแรกเกิด-2ปี พัฒนาการเด็กในช่วงนี้เป็นรากฐานสำคัญ มีพัฒนาการทางร่างกายมากกว่าทุกวัย ปกติมากกว่า 2 เท่า และจะลดลงถึง 30% การใช้ปฏิกิริยาสะท้อนกลับมากระทบจะเกิดขึ้นซ้ำอีกเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เด็กมีทั้งสิ้น 11 อารมณ์
ภาษา หมายถึง เครื่องมือสื่อความคิด คำพูด ความรู้สึก
ความสำคัญของภาษา
1.ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารของมนุษย์ มนุษย์ติดต่อกันได้ เข้าใจกันได้ก็ด้วยอาศัยภาษาเป็นเครื่องช่วยที่ดีที่สุด
2.ภาษาเป็นสิ่งช่วยยึดให้มนุษย์มีความผูกพันต่อกัน เนื่องจากแต่ละภาษาต่างก็มีระเบียบแบบแผนของตน ซึ่งเป็นที่ตกลงกันในแต่ละชาติแต่ละกลุ่มชน การพูดภาษาเดียวกันจึงเป็นสิ่งที่ทำให้คนรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน มีความผูกพันต่อกันในฐานะที่เป็นชาติเดียวกัน
3.ภาษาเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์ และเป็นเครื่องแสดงให้เห็นวัฒนธรรมส่วนอื่นๆของมนุษย์ด้วย เราจึงสามารถศึกษาวัฒนธรรมตลอดจนเอกลักษณ์ของชนชาติต่างๆได้จากศึกษาภาษาของชนชาตินั้นๆ
2.ภาษาเป็นสิ่งช่วยยึดให้มนุษย์มีความผูกพันต่อกัน เนื่องจากแต่ละภาษาต่างก็มีระเบียบแบบแผนของตน ซึ่งเป็นที่ตกลงกันในแต่ละชาติแต่ละกลุ่มชน การพูดภาษาเดียวกันจึงเป็นสิ่งที่ทำให้คนรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน มีความผูกพันต่อกันในฐานะที่เป็นชาติเดียวกัน
3.ภาษาเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์ และเป็นเครื่องแสดงให้เห็นวัฒนธรรมส่วนอื่นๆของมนุษย์ด้วย เราจึงสามารถศึกษาวัฒนธรรมตลอดจนเอกลักษณ์ของชนชาติต่างๆได้จากศึกษาภาษาของชนชาตินั้นๆ
4.มีระบบกฎเกณฑ์ ผู้ใช้ภาษาต้องรักษากฎเกณฑ์ในภาษาไว้ด้วยอย่างไรก็ตาม กฎเกณฑ์ในภาษานั้นไม่ตายตัวเหมือนกฎวิทยาศาสตร์ แต่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติของภาษา เพราะเป็นสิ่งที่มนุษย์ตั้งขึ้น จึงเปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัยตามความเห็นชอบของส่วนรวม
5.ภาษาเป็นศิลปะ มีความงดงามในกระบวนการใช้ภาษา กระบวนการใช้ภาษานั้น มีระดับและลีลา ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆหลายด้าน เช่น บุคคล กาละเทศะ ประเภทของเรื่องฯลฯ การที่จะเข้าใจภาษา และใช้ภาษาได้ดีจะต้องมีความสนใจศึกษาสังเกตให้เข้าถึงรสของภาษาด้วย
5.ภาษาเป็นศิลปะ มีความงดงามในกระบวนการใช้ภาษา กระบวนการใช้ภาษานั้น มีระดับและลีลา ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆหลายด้าน เช่น บุคคล กาละเทศะ ประเภทของเรื่องฯลฯ การที่จะเข้าใจภาษา และใช้ภาษาได้ดีจะต้องมีความสนใจศึกษาสังเกตให้เข้าถึงรสของภาษาด้วย
กลุ่มที่ 2 แนวคิดของนักทฤษฎีทางภาษา
- เพียเจต์ (Piaget) กล่าวว่า เด็กจะมีโอกาสพัฒนาทักษะจากการทำกิจกรรมต่างๆ
- ไวกอตสกี้ กล่าวว่า เด็กเกิดการเรียนรู้ภาษาของตนเองจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเด็ก
- ฮอลลิเดย์ กล่าวว่า สภาพแวดล้อม รอบ ๆ ตัวเด็กเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ และการใช้ภาษาของเด็ก และการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลที่เกี่ยวข้องจะทำให้เด็กมีพัฒนาการทางภาษาจาการเรียนรู้กับทุกสิ่งทุกอย่าง
- กู๊ดแมน กล่าวว่า ภาษาเป็นเรื่องสำคัญสำหรับชีวิตเด็ก เด็กทุกคนต้องมีการเรียนรู้ภาษาที่เหมาะสม และใช้ภาษาเพื่อการเรียนรู้ประสบการณ์ต่าง ๆ สู่ภาษาพูด ภาษาเขียนสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่จะเป็นเครื่องมือสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ และการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองในที่สุด
กลุ่มที่ 3 พัฒนาการด้านสติปัญญา
- เด็กแรกเกิด-2 ปี เมื่อคุณยื่นหน้าเข้ามาใกล้เด็กจะจดจำหน้าได้
จำเสียงได้
- การเรียนรู้ 0-1 เมื่อลูกได้ยินเสียงคุณเขาจะสอดส่ายสายตามองหาคุณอยู่ไหน
และพยายามมองตา
ใบหน้าของคุณ ขณะที่คุณกำลังเคลื่อนตัวเข้ามาหา
เมื่อลูกอายุมากกว่า 36 ชั่วโมง
และเขาจะมองออกว่าเป็นคุณ เมื่อคุณเข้ามาอยู่ในระยะไม่เกิน 30.5 เซนติเมตร จากสายตาเขา
- อายุ 4 สัปดาห์: เมื่อคุณคุยกับเขาและเขาก็จะพยายามเลียนแบบ
- อายุ 6 สัปดาห์ :เด็กจะยิ้มและสายตาของเขาจะมองตามของเล่นที่ส่ายไปมา
- อายุ 8 สัปดาห์ :ชอบมองของที่มีสีสันสดใส
- อายุ 3 เดือน :เด็ก จะมองเห็นของเล่นที่แขวนอยู่เหนือศีรษะเขาได้ทันที เขาจะยิ้มเมื่อพูดด้วยและจะส่งเสียงอ้อแอ้ตอบอย่างอารมณ์ดี
- อายุ 4 เดือน :เด็กจะแสดงอารมณ์ตื่นเต้นออกมาเมื่อถึงเวลาป้อนนม เขาจะหัวเราะและจะเอามือปัดป่ายไปเมื่อมีคนเล่นด้วย
- อายุ 5 เดือน : เด็กจะเริ่มเข้าใจสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น และสามารถแสดงความกลัวและความโกรธออกมา
- อายุ 6 เดือน :ทารกจะเริ่มสนใจกระจกเงา และสนใจที่เห็นใบหน้าตนเองอยู่ในนั้น เขาจะเริ่มชอบอาหารบางอย่างมากเป็นพิเศษ
- อายุ 8 เดือน :เด็กจะเริ่มรู้จักชื่อของตนเอง และเริ่มเข้าใจคำว่า “ไม่”และเข้าใจว่าตนเองต้องการอะไรมากขึ้น
- อายุ 10 เดือน :เด็กเริ่มตบมือได้จะสนุกกับการเล่น เขาจะโยนขงเล่นลงพื้นแล้วหยิบขึ้นมาใหม่
- อายุ 11 เดือน :ทารกจะเริ่มเรียนรู้และสนุกสนานกับเกมที่เล่นง่ายๆ เขาชอบหยิบของเล่นมาเขย่าให้เกิดเสียง
- อายุ 12 เดือน :เขาจะพยายามทำอะไรก็ได้ให้คุณหัวเราะ แล้วก็ทำอย่างนั้นอยู่ซ้ำๆ เขาจะช่วยคุณถอดเสื้อผ้าของตัวเอง โดยการช่วยยกแขนขึ้นเป็นต้น
- อายุ 15 เดือน : เขาจะเริ่มสนใจคนรอบข้าง เขาจะหอมแก้มได้
- อายุ 18 เดือน : เมื่อคุณกับลูกดูหนังสือด้วยกัน เขาจะเริ่มชี้ที่รูปภาพ เช่น สุนัข ลูกบอล วัว และอาจพูดออกมาดังๆ ว่า “วัว” เป็นการแสดงความเข้าใจและความสามารถในการสื่อสารออกมา
- อายุ 21 เดือน : เด็กจะเริ่มสนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
- อายุ 2 ปี เด็กจะชอบการอยู่ลำพังและเล่นอะไรของเขาไปคนเดียว เขาจะเริ่มใช้ดินสอขีดเขียนในลักษณะเลียนแบบตัวหนังสือ เด็กจะเริ่มรู้ชื่อของ สิ่งของต่างๆ ให้ เขาจะพูดคำนั้นซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ
เพื่อนได้นำเสนอวีดีโอพัฒนาการเด็กแรกเกิด - 1 เดือน
สรุปวีดีโอ เด็กแรกเกิด-1เดือน
จะกินนมแม่เพียงอย่างเดียวเด็กจะมองและจ้องตาแม่ พ่อแม่ควรส่งเสริมพัฒนาการตามวัย
คือการอุ้มและพูดคุยกับลูก เพื่อทำให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีตามลำดับขั้น
กลุ่มที่ 4 พัฒนาการด้านสติปัญญา 2-4 เดือน
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น เพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่ แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม
สรุปวีดีโอ เด็กจะมีปฏิสัมพันธ์สนใจและโต้ตอบพูดคุยได้ดี แต่นั้นก็ขึ้นอยู่กับเด็กแต่ละคน
กลุ่มที่ 5 พูดถึงเด็กอายุ 4-6 ปี
เด็กจะรับรู้และสังเกตได้ดีมาก เด็กจะชอบถามทำไม? อะไร? และจะเข้าใจคำถามแบบง่ายๆ
พัฒนาการทางภาษา เด็กอายุ 4 - 6 ปี
- บอกชื่อ นามสกุล และที่อยู่ได้
- รู้จักเพศของตัวเอง
- ชอบถามทำไม เมื่อไร อย่างไร และถามความหมายของคำ และมักเป็นคำถามที่มีเหตุผลมากขึ้น
- เด็กวัยนี้สามารถขยายคำศัพท์ เด็กวัยนี้สามารถขยายคำศัพท์จาก 4,000 - 6,000 คำ และสามารถพูดได้ 5-6 ประโยคต่อคำ สามารถเล่าเรื่องซ้ำ 4 -5 ลำดับขั้น หรือ 4 -5ประโยคในเรื่องหนึ่งได้
- เข้าใจคำถามง่ายๆ และตอบคำถามนั้นได้ แม้ในเด็กบางคนอาจจะยังพูดติดอ่าง แต่ก็สามารถแก้ไขได้
- ชอบเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่คิดขึ้นมาเอง ให้คนอื่นๆ ฟัง ทั้งพ่อแม่ คนรอบข้าง และเพื่อน
- คิดคำขึ้นมาใช้โต้ตอบกับผู้ใหญ่ได้
- มักให้ความสนใจในภาษาพูดของผู้ใหญ่ โดยเฉพาะคำแสลง หรือคำอุทาน
- ชอบเรื่องสนุก ตลก ชอบภาษาแปลกๆ ชอบฟังนิทานมาก และชอบฟังเพลง มักจะคอยฟังเวลาที่ผู้ใหญ่คุยกัน จดจำคำศัพท์ และบทสนทนาเหล่านั้น โดยเฉพาะคำแสลงหรือคำอุทาน
- สามารถบอกชื่อสิ่งของในภาพที่เห็นได้ หรือเล่าเรื่องที่พ่อแม่เคยอ่านให้ฟังได้ และจะเล่นเป็นสุนัข เป็ด หรือสัตว์ต่างๆ ในเรื่องนั้น พร้อมทำเสียงสัตว์เหล่านั้นประกอบได้
- สับสนระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องเล่าในหนังสือเด็ก
กลุ่มที่ 6 จิตวิทยาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
เพื่อนกลุ่มนี้จะใช้วิธีสังเกต วิธีการเรียนรู้ แต่จะไม่ไปถามเด็ก แต่เฝ้าดูพฤติกรรมอยู่ห่างๆ
วีธีการเรียนรู้ของเด็ก ได้แก่
1 วิธีการเล่นเข้าสังคม การเรียนรู้ของเด็กเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำงานของโครงสร้างทางสติปัญญา
2 การช่วยเหลือตนเอง เป็นการเรียนรู้มาจากการรับรู้ทางประสาทสัมผัส
กลุ่มที่ 9 องค์ประกอบของภาษาทางด้านภาษา
ภาษาทุกภาษาย่อมมีองค์ประกอบของภาษา โดยทั่วไปจะมีองค์ประกอบ 4ประการ คือ
- เสียง
- พยางค์และคำ
- เสียงสระ
- เสียงวรรณยุกต์
เสียงวรรณยุกต์ ได้แก่ เสียง /สามัญ/
ส่วนคำนั้นจะเป็นการนำเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์มาประกอบกัน ทำให้เกิดเสียงและมีความหมาย คำจะประกอบด้วยคำพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้ประโยค: เป็นการนำคำมาเรียงกันตามลักษณะโครงสร้างของภาษาที่กำหนดเป็นกฎเกณฑ์หรือระบบตามระบบทางไวยากรณ์ของแต่ละภาษา และทำให้ทราบหน้าที่ของคำ
ความหมายของคำมี 2 อย่าง คือ
(1) ความหมายตามตัวหรือความหมายนัยตรง เป็นความหมายตรงของคำนั้นๆ เป็นคำที่ถูกกำหนดและผู้ใช้ภาษามีความเข้าใจตรงกัน เช่น
“ กิน” หมายถึง นำอาหารเข้าปากเคี้ยวและกลืนลงไปในคอ
(2) ความหมายในประหวัดหรือความหมายเชิงอุปมา เป็นความหมายเพิ่มจากความหมายในตรง เช่น
“ กินใจ” หมายถึง รู้สึกแหนงใจ
“ กินแรง” หมายถึง เอาเปรียบผู้อื่นในการทำงาน
ส่วนคำนั้นจะเป็นการนำเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์มาประกอบกัน ทำให้เกิดเสียงและมีความหมาย คำจะประกอบด้วยคำพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้ประโยค: เป็นการนำคำมาเรียงกันตามลักษณะโครงสร้างของภาษาที่กำหนดเป็นกฎเกณฑ์หรือระบบตามระบบทางไวยากรณ์ของแต่ละภาษา และทำให้ทราบหน้าที่ของคำ
ความหมายของคำมี 2 อย่าง คือ
(1) ความหมายตามตัวหรือความหมายนัยตรง เป็นความหมายตรงของคำนั้นๆ เป็นคำที่ถูกกำหนดและผู้ใช้ภาษามีความเข้าใจตรงกัน เช่น
“ กิน” หมายถึง นำอาหารเข้าปากเคี้ยวและกลืนลงไปในคอ
(2) ความหมายในประหวัดหรือความหมายเชิงอุปมา เป็นความหมายเพิ่มจากความหมายในตรง เช่น
“ กินใจ” หมายถึง รู้สึกแหนงใจ
“ กินแรง” หมายถึง เอาเปรียบผู้อื่นในการทำงาน
กลุ่มที่ 10 องค์ประกอบของภาษาทางด้านภาษา
หลักการจัดประสบการณ์ ภาษาธรรมชาติ
หลักการจัดการศึกษาปฐมวัยเป็นหลักสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ซึ่งผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาหลักสูตรให้เข้าใจ เพราะในการจัดประสบการณ์ให้เด็กอายุ 3 - 5 ปี จะต้องยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูควบคู่กับการให้การศึกษา โดยต้องคำนึงถึงความสนใจและความต้องการของเด็กทุกคนทั้งเด็กปกติ เด็กที่มีความสามารถพิเศษ และเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม สติปัญญา รวมทั้งการสื่อสารและการเรียนรู้หรือเด็กที่มีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ หรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแล หรือด้อยโอกาส เพื่อให้เด็กพัฒนาทุกด้านทั้งด้านอารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาอย่างสมดุล โดยการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย บูรณาการผ่านการเล่นและกิจกรรมที่เป็นประสบการณ์ตรงผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าเหมาะสมกับวัย และความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วยปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับพ่อแม่เด็กกับผู้เลี้ยงดูหรือบุคลากรที่มีความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาปฐมวัย เพื่อให้เด็กแต่ละคนได้มีโอกาสพัฒนาตนเองตามลำดับขั้นตอนของพัฒนาการสูงสุดตามศักยภาพและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข
สรุปวีดิโอ ภาษาธรรมชาติ
เราไม่ควรคาดหวังให้เด็กมีพัฒนาการการเรียนรู้เหมือนกันทุกคนในห้องเพราะเด็กทุกคนมีความแตกต่างกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น