ยินดีตอนสู่บล็อกสุนิสา

ยินดีตอนรับสู่บล็อกสุนิสา

วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่  10  

บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ.ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ที่  23 สิงหาคม  2556
ครั้งที่  10  เวลาเรียน  13.10 - 16.40 น.
เวลาเข้าสอน  13.10  เวลาเข้าเรียน  13.00  เวลาเลิกเรียน  16.40

       วันนี้เริ่มเรียนก็มีเรื่องสนุกสนานปนความสงสารมาให้ดูกัน เป็นคลิปที่เด็กน้อยทำท่าทางพฤติกรรมแปลกๆที่ทำให้เราหัวเราะได้ค่ะ  และอาจารย์ก็ได้ให้ดูเกี่ยวกับเรื่องภาษากับรูปภาพที่เราดูแล้วก็สามารถอ่านได้และเข้าใจตรงกันค่ะเป็นอีกมุมมองหนึ่งของภาษาค่ะ



เรียนเรื่อง สื่อการเรียนรู้ทางภาษา



สื่อการเรียนรู้ทางภาษา

ความหมาย : วัสดุ  อุปกรณ์ หรือวิธีการต่างๆ เพื่อกระตุ้น ส่งเสริมแรงจูงใจ ให้เด็กเกิดความสนใจ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ทางภาษา เครื่องมือที่ครูกำหนดขึ้น เพื่อถ่ายทอด แลกเปลี่ยนเนื้อหาประสบการณื แนวคิด ทักษะ เจตคติ
             เช่น  หน่วยปลาทอง
ครูคนที่ 1 สอนโดย ยืนเล่าเรื่องปลาให้เด็กๆฟัง เด็กจะมองไม่เห็นภาพปลาทองจริงๆ
ครูคนที่ 2 สอนโดย ใช้สื่อภาพปลาทองมาเล่าให้เด็กฟัง เด็กเห็นภาพ แต่ไม่ได้จับต้องของจริง
ครูคนที่ 3 สอนโดย เอาปลาทองตัวจริงมาให้เด็กได้เห็น เด็กเห็นของจริง เกิดความสนใจได้มากที่สุด
    สื่อที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยมากที่สุด คือ สื่อของจริง เพราะจะสามารถดึงดูดความสนใจของเด็กได้มากที่สุด และพร้อมที่จะเรียนรู้ได้มาก


ความสำคัญของสื่อการเรียนรู้ทางภาษา
- เด็กเรียนรู้ได้ดีจากประสาทสัมผัส
- เข้าใจได้ง่าย
- เป็นรูปธรรม
- จำได้ง่าย รวดเร็ว และนาน

ประเภทของสื่อการสอน

1. สื่อสิงพิมพ์
คือ  สื่อที่ใช้ระบบการพิมพ์
ประโยชน์ที่เด็กได้รับคือ  เด็กได้เรียนรู้ตัวอักษร การใช้คำการใช้ประโยค เช่น หนังสือนิทาน หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ นิตยาสาร แบบฝึกหัด พจนานุกรม

2.สื่อวัสดุอุปกรณ์
คือ  สิ่งของต่างๆ
ประโยชน์ที่เด็กได้รับคือ สื่อชนิดนี้ดีมากเป็นของจริง เด็กได้เห็นจริงๆ และสามารถสัมผัสได้ เช่น ของจริง หุ่นจำลอง แผนที่ แผนภูมิ ตาราง สถิติ กราฟ สมุดภาพ หุ่นนิ้ว

3.สื่อโสตทัศนูปกรณ์
คือ  สิ่งที่นำเสนอด้วยเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ
ประโยชน์ที่เด็กได้รับคือ บางครั้งของจริงนั้นหายากสื่อชนิดนี้จะทำให้เด็กเห็นสิ่งต่างๆได้ดีขึ้น เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นแผ่น

4.สื่อกิจกรรม
คือ  วิธีการที่ใช้ในการฝึกปฎิบัติ
ประโยชน์ที่เด็กได้รับคือ  ใช้กระบวนการคิด การปฎิบัติ การเผชิญ สถานการณ์ เช่น เกม เพลง การสาธิต สถานการจำลอง การแสดงละคร การจัดนิทรรศการ การแสดงผลงาน ทัศนศึกษา

5.สื่อบริบท
คือ  สื่อที่ส่งเสริมการจัดประสบการณ์ สภาพแวดล้อม 
ประโยชน์ที่เด็กได้รับคือ เด็กจะสามารถซึมซับจากสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก เช่น ห้องเรียน บุคล ชุมชน วัฒนธรรม


แล้วอาจารย์ก็ได้ให้พวกเราทดลองฟังเสียงสัตว์ โดยไม่ให้ดูรูปก่อน ให้ฟังเพียงแต่เสียงเท่านั้น


จากนั้นอาจารย์ให้ทำสื่อที่อาจารย์ได้แจกกระดาษ และสีไม้ สีเมจิกให้ พร้อมให้ดูตัวอย่างการทำ



วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่  9  

บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ.ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ที่  16 สิงหาคม  2556
ครั้งที่  9  เวลาเรียน  13.10 - 16.40 น.
เวลาเข้าสอน  13.10  เวลาเข้าเรียน  13.00  เวลาเลิกเรียน  16.40

วันนี้อาจารย์ให้ทำสื่อเกี่ยวกับอาเซี่ยน  10  ประเทศ  โดยอาทำมี 4 ชิ้นได้แก่ ทำหุ่นนิ้ว  จับคู่คำสำคัญของแต่ละประเทศ  ภาพนกฮูกปากเปิด-ปากปิด  และก็ประดิษฐ์ธงชาติอาเซี่ยนแบบดึงได้  ทุกคนตั้งใจทำกันอย่างมากเพราะว่าอาจารย์บอกว่าจะเอาไปโชว์ที่มหาวิทยาลัยอุบลฯ  ทุกกลุ่มทำผลงานออกมาได้อย่างสวยงามมาก  ส่วนกลุ่มของดิฉันได้ทำสื่อจับคู่คำสำคัญของประเทศอาเซี่ยนจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่มใหญ่ เพื่อที่จะแบ่งหน้าที่กันว่ากลุ่มไหนทำอะไรบ้าง  สื่อวันนี้ที่อาจารย์ให้


ลงมือทำกันดีกว่า


กำลังประดิษฐ์สื่อ



สื่อที่ทำเรียบร้อยแล้วค่ะ




ถ่ายรูปกับสื่อที่สวยงามจร้า



สิ่งที่ได้จากกิจกรรม 

                  สิ่งที่ได้จากทำกิจกรรมในครั้งนี้นะค่ะ  เราจะได้ความสามัคคี  การช่วยเหลือ การมีน้ำใจต่อกัน การทำสื่อในครั้งนี้ทำให้เราได้รู้จักประเทศอาเซี่ยนมากขึ้น จากที่เมื่อก่อนไม่ค่อยสนใจเรื่องอาเซี่ยนมากนักค่ะ เลยทำให้ดิฉันรู้และเข้าใจในอาเซี่ยนมากขึ้นค่ะ






วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556


บันทึกครั้งที่  8  

บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ.ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ที่  9 สิงหาคม  2556
ครั้งที่  8  เวลาเรียน  13.10 - 16.40 น.
เวลาเข้าสอน  13.10  เวลาเข้าเรียน  13.00  เวลาเลิกเรียน  15.20 

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาช่วยกันแต่งนิทาน  1  เรื่อง  แล้ววาดภาพระบายสีให้สวยงาม

    นิทานเรื่อง บทเรียนของกระต่ายน้อย


มีครอบครัวกระต่ายอยู่ครอบครัวหนึ่ง สร้างบ้านอยู่ในทุ่งหญ้าสีเขียวครอบครัวกระต่ายประกอบด้วย พ่อ แม่และมีลูกกระต่าย 2 ตัว และลูกกระต่ายชอบแย่งแครอทกัน น้องชอบแย่งแครอทของพี่ และพี่ก็ยอมเสียสละให้น้องเสมอเพราะเชื่อฟังที่พ่อแม่สั่งสอน แต่น้องก็เอาแต่ใจเกินไปต้องได้ทุกอย่างและให้พี่ยอมน้องทุกเรื่อง แต่แล้ววันหนึ่งมีกระรอกตัวหนึ่งมาแย่งแครอทของน้องกระต่ายไป น้องก็เลยได้แต่นั่งร้องไห้ พี่กระต่ายจึงนำแครอทของตนเองมาให้กับน้อง น้องก็เกิดความสงสัยและคิดว่าทำไมพี่ถึงเอ าแครอทมาให้และพี่ก็บอกว่าเราเป็นพี่น้องกันก็ต้องแบ่งบัน น้องกระต่ายเลยหักแครอทแบ่งกับพี่คนละครึ่งแล้วจากนั้นน้องกระต่ายก็ไม่เอาแต่ใจตนเองอีกเลย

            หน้าที่  1

หน้าที่ 2


หน้าที่  3


หน้าที่  4


หน้าที่  5


หน้าที่  6




            

วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556


บันทึกครั้งที่  4   
บันทึกอนุทิน  
วิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤณ แจ่มถิน
วันศุกร์ที่  5  กรกฎาคม  2556
ครั้งที่  เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.   
 เวลาเข้าสอน 13.10     เวลาเข้าเรียน 13.10  เวลาเลิกเรียน 16.40    


วันนี้
แต่ละกลุ่มนำเสนองานตามใบงานที่ได้รับมอบหมาย

กลุ่มที่ 1   การใช้ภาษาของเด็กปฐมวัย
    กระบวนการพัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างของร่างกายและแบบแผนของร่างกายทุกส่วน การเปลี่ยนแปลงนี้จะก้าวหน้าไปเรื่อยๆเป็นขั้นอตน จากระยะหนึ่งไปอีกระยะหนึ่ง ทำให้เด็กมีลักษณะและความสามารถใหม่ๆ เกิดขึ้น ซึ่งมีผลทำให้เจริญก้าวหน้าตามลำดับทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
องค์ประกอบของสติปัญญา  
     1. ความสามารถทางภาษา
     2. ความสามารถทางตัวเลข
     3. ความสามารถทางการใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา
     4. ความสามารถทางการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ
     5. ความสามารถทางความจำ
     6. ความสามารถทางเชิงสังเกต
     7. ความสามารถทางมิติสัมพันธ์
โครงสร้างของสติปัญญา (สติปัญญาเน้นสร้างและระดับทางการคิด)
     1. การรับรู้
     2. ความจำ
     3. การเกิดความคิดเห็น

พัฒนาการของเด็กปฐมวัย
      -   วัยทารกอายุแรกเกิด-2ปี      พัฒนาการเด็กในช่วงนี้เป็นรากฐานสำคัญ มีพัฒนาการทางร่างกายมากกว่าทุกวัย ปกติมากกว่า เท่า และจะลดลงถึง 30% การใช้ปฏิกิริยาสะท้อนกลับมากระทบจะเกิดขึ้นซ้ำอีกเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เด็กมีทั้งสิ้น 11 อารมณ์

ภาษา หมายถึง เครื่องมือสื่อความคิด คำพูด ความรู้สึก

ความสำคัญของภาษา

       1.ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารของมนุษย์ มนุษย์ติดต่อกันได้ เข้าใจกันได้ก็ด้วยอาศัยภาษาเป็นเครื่องช่วยที่ดีที่สุด
          2.ภาษาเป็นสิ่งช่วยยึดให้มนุษย์มีความผูกพันต่อกัน เนื่องจากแต่ละภาษาต่างก็มีระเบียบแบบแผนของตน ซึ่งเป็นที่ตกลงกันในแต่ละชาติแต่ละกลุ่มชน การพูดภาษาเดียวกันจึงเป็นสิ่งที่ทำให้คนรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน มีความผูกพันต่อกันในฐานะที่เป็นชาติเดียวกัน
          3.ภาษาเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์ และเป็นเครื่องแสดงให้เห็นวัฒนธรรมส่วนอื่นๆของมนุษย์ด้วย เราจึงสามารถศึกษาวัฒนธรรมตลอดจนเอกลักษณ์ของชนชาติต่างๆได้จากศึกษาภาษาของชนชาตินั้นๆ
         4.มีระบบกฎเกณฑ์ ผู้ใช้ภาษาต้องรักษากฎเกณฑ์ในภาษาไว้ด้วยอย่างไรก็ตาม กฎเกณฑ์ในภาษานั้นไม่ตายตัวเหมือนกฎวิทยาศาสตร์ แต่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติของภาษา เพราะเป็นสิ่งที่มนุษย์ตั้งขึ้น จึงเปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัยตามความเห็นชอบของส่วนรวม
        5.ภาษาเป็นศิลปะ มีความงดงามในกระบวนการใช้ภาษา กระบวนการใช้ภาษานั้น  มีระดับและลีลา ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆหลายด้าน เช่น บุคคล กาละเทศะ ประเภทของเรื่องฯลฯ การที่จะเข้าใจภาษา และใช้ภาษาได้ดีจะต้องมีความสนใจศึกษาสังเกตให้เข้าถึงรสของภาษาด้วย


กลุ่มที่ 2 แนวคิดของนักทฤษฎีทางภาษ
  • เพียเจต์ (Piaget) กล่าวว่า เด็กจะมีโอกาสพัฒนาทักษะจากการทำกิจกรรมต่างๆ
  • ไวกอตสกี้ กล่าวว่า เด็กเกิดการเรียนรู้ภาษาของตนเองจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเด็ก
  • ฮอลลิเดย์ กล่าวว่า สภาพแวดล้อม รอบ ๆ ตัวเด็กเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ และการใช้ภาษาของเด็ก และการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลที่เกี่ยวข้องจะทำให้เด็กมีพัฒนาการทางภาษาจาการเรียนรู้กับทุกสิ่งทุกอย่าง
  •  กู๊ดแมน กล่าวว่า ภาษาเป็นเรื่องสำคัญสำหรับชีวิตเด็ก เด็กทุกคนต้องมีการเรียนรู้ภาษาที่เหมาะสม และใช้ภาษาเพื่อการเรียนรู้ประสบการณ์ต่าง ๆ สู่ภาษาพูด ภาษาเขียนสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่จะเป็นเครื่องมือสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ และการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองในที่สุด

กลุ่มที่ 3 พัฒนาการด้านสติปัญญา
     - เด็กแรกเกิด-2 ปี เมื่อคุณยื่นหน้าเข้ามาใกล้เด็กจะจดจำหน้าได้ จำเสียงได้
     - การเรียนรู้ 0-1 เมื่อลูกได้ยินเสียงคุณเขาจะสอดส่ายสายตามองหาคุณอยู่ไหน และพยายามมองตา
ใบหน้าของคุณ ขณะที่คุณกำลังเคลื่อนตัวเข้ามาหา เมื่อลูกอายุมากกว่า 36 ชั่วโมง และเขาจะมองออกว่าเป็นคุณ เมื่อคุณเข้ามาอยู่ในระยะไม่เกิน 30.5 เซนติเมตร จากสายตาเขา
  • อายุ 4 สัปดาห์เมื่อคุณคุยกับเขาและเขาก็จะพยายามเลียนแบบ
  • อายุ 6 สัปดาห์ :เด็กจะยิ้มและสายตาของเขาจะมองตามของเล่นที่ส่ายไปมา
  • อายุ 8 สัปดาห์ :ชอบมองของที่มีสีสันสดใส
  • อายุ 3 เดือน :เด็ก จะมองเห็นของเล่นที่แขวนอยู่เหนือศีรษะเขาได้ทันที เขาจะยิ้มเมื่อพูดด้วยและจะส่งเสียงอ้อแอ้ตอบอย่างอารมณ์ดี
  • อายุ 4 เดือน :เด็กจะแสดงอารมณ์ตื่นเต้นออกมาเมื่อถึงเวลาป้อนนม เขาจะหัวเราะและจะเอามือปัดป่ายไปเมื่อมีคนเล่นด้วย
  • อายุ 5 เดือน : เด็กจะเริ่มเข้าใจสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น และสามารถแสดงความกลัวและความโกรธออกมา
  • อายุ 6 เดือน :ทารกจะเริ่มสนใจกระจกเงา และสนใจที่เห็นใบหน้าตนเองอยู่ในนั้น เขาจะเริ่มชอบอาหารบางอย่างมากเป็นพิเศษ
  • อายุ 8 เดือน :เด็กจะเริ่มรู้จักชื่อของตนเอง และเริ่มเข้าใจคำว่า “ไม่และเข้าใจว่าตนเองต้องการอะไรมากขึ้น
  • อายุ 10 เดือน :เด็กเริ่มตบมือได้จะสนุกกับการเล่น เขาจะโยนขงเล่นลงพื้นแล้วหยิบขึ้นมาใหม่
  • อายุ  11 เดือน :ทารกจะเริ่มเรียนรู้และสนุกสนานกับเกมที่เล่นง่ายๆ เขาชอบหยิบของเล่นมาเขย่าให้เกิดเสียง
  • อายุ 12 เดือน :เขาจะพยายามทำอะไรก็ได้ให้คุณหัวเราะ แล้วก็ทำอย่างนั้นอยู่ซ้ำๆ เขาจะช่วยคุณถอดเสื้อผ้าของตัวเอง โดยการช่วยยกแขนขึ้นเป็นต้น
  • อายุ 15 เดือน : เขาจะเริ่มสนใจคนรอบข้าง เขาจะหอมแก้มได้
  • อายุ 18 เดือน : เมื่อคุณกับลูกดูหนังสือด้วยกัน เขาจะเริ่มชี้ที่รูปภาพ เช่น สุนัข ลูกบอล วัว และอาจพูดออกมาดังๆ ว่า “วัว” เป็นการแสดงความเข้าใจและความสามารถในการสื่อสารออกมา
  • อายุ 21 เดือน : เด็กจะเริ่มสนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
  • อายุ  2 ปี เด็กจะชอบการอยู่ลำพังและเล่นอะไรของเขาไปคนเดียว เขาจะเริ่มใช้ดินสอขีดเขียนในลักษณะเลียนแบบตัวหนังสือ เด็กจะเริ่มรู้ชื่อของ สิ่งของต่างๆ ให้ เขาจะพูดคำนั้นซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ

เพื่อนได้นำเสนอวีดีโอพัฒนาการเด็กแรกเกิด  - 1 เดือน
       สรุปวีดีโอ     เด็กแรกเกิด-1เดือน จะกินนมแม่เพียงอย่างเดียวเด็กจะมองและจ้องตาแม่ พ่อแม่ควรส่งเสริมพัฒนาการตามวัย คือการอุ้มและพูดคุยกับลูก เพื่อทำให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีตามลำดับขั้น


กลุ่มที่ 4 พัฒนาการด้านสติปัญญา 2-4 เดือน
 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
      เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น เพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่ แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม 
        สรุปวีดีโอ เด็กจะมีปฏิสัมพันธ์สนใจและโต้ตอบพูดคุยได้ดี แต่นั้นก็ขึ้นอยู่กับเด็กแต่ละคน


กลุ่มที่ 5  พูดถึงเด็กอายุ 4-6 ปี                      
        เด็กจะรับรู้และสังเกตได้ดีมาก เด็กจะชอบถามทำไม? อะไร?  และจะเข้าใจคำถามแบบง่ายๆ
พัฒนาการทางภาษา เด็กอายุ 4 - 6 ปี
  • บอกชื่อ นามสกุล และที่อยู่ได้
  • รู้จักเพศของตัวเอง
  • ชอบถามทำไม เมื่อไร อย่างไร และถามความหมายของคำ และมักเป็นคำถามที่มีเหตุผลมากขึ้น
  • เด็กวัยนี้สามารถขยายคำศัพท์ เด็กวัยนี้สามารถขยายคำศัพท์จาก 4,000 - 6,000 คำ และสามารถพูดได้ 5-6 ประโยคต่อคำ สามารถเล่าเรื่องซ้ำ 4 -5 ลำดับขั้น หรือ 4 -5ประโยคในเรื่องหนึ่งได้
  • เข้าใจคำถามง่ายๆ และตอบคำถามนั้นได้ แม้ในเด็กบางคนอาจจะยังพูดติดอ่าง แต่ก็สามารถแก้ไขได้
  • ชอบเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่คิดขึ้นมาเอง ให้คนอื่นๆ ฟัง ทั้งพ่อแม่ คนรอบข้าง และเพื่อน
  • คิดคำขึ้นมาใช้โต้ตอบกับผู้ใหญ่ได้
  • มักให้ความสนใจในภาษาพูดของผู้ใหญ่ โดยเฉพาะคำแสลง หรือคำอุทาน
  • ชอบเรื่องสนุก ตลก ชอบภาษาแปลกๆ ชอบฟังนิทานมาก และชอบฟังเพลง มักจะคอยฟังเวลาที่ผู้ใหญ่คุยกัน จดจำคำศัพท์ และบทสนทนาเหล่านั้น โดยเฉพาะคำแสลงหรือคำอุทาน
  • สามารถบอกชื่อสิ่งของในภาพที่เห็นได้ หรือเล่าเรื่องที่พ่อแม่เคยอ่านให้ฟังได้ และจะเล่นเป็นสุนัข เป็ด หรือสัตว์ต่างๆ ในเรื่องนั้น พร้อมทำเสียงสัตว์เหล่านั้นประกอบได้
  • สับสนระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องเล่าในหนังสือเด็ก

กลุ่มที่ จิตวิทยาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

กลุ่มที่ 7 วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
           เพื่อนกลุ่มนี้จะใช้วิธีสังเกต วิธีการเรียนรู้ แต่จะไม่ไปถามเด็ก แต่เฝ้าดูพฤติกรรมอยู่ห่างๆ
วีธีการเรียนรู้ของเด็ก ได้แก่
1 วิธีการเล่นเข้าสังคม การเรียนรู้ของเด็กเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำงานของโครงสร้างทางสติปัญญา
2 การช่วยเหลือตนเอง เป็นการเรียนรู้มาจากการรับรู้ทางประสาทสัมผัส


กลุ่มที่ 9  องค์ประกอบของภาษาทางด้านภาษา
 ภาษาทุกภาษาย่อมมีองค์ประกอบของภาษา โดยทั่วไปจะมีองค์ประกอบ 4ประการ คือ 
  • เสียง 
  • พยางค์และคำ
  • เสียงสระ 
  • เสียงวรรณยุกต์     
เสียงสระ ได้แก่ เสียงสระ /อา/
เสียงวรรณยุกต์ ได้แก่ เสียง /สามัญ/
       ส่วนคำนั้นจะเป็นการนำเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์มาประกอบกัน ทำให้เกิดเสียงและมีความหมาย คำจะประกอบด้วยคำพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้
ประโยค: เป็นการนำคำมาเรียงกันตามลักษณะโครงสร้างของภาษาที่กำหนดเป็นกฎเกณฑ์หรือระบบตามระบบทางไวยากรณ์ของแต่ละภาษา และทำให้ทราบหน้าที่ของคำ
ความหมายของคำมี อย่าง คือ
(1) ความหมายตามตัวหรือความหมายนัยตรง เป็นความหมายตรงของคำนั้นๆ เป็นคำที่ถูกกำหนดและผู้ใช้ภาษามีความเข้าใจตรงกัน เช่น
“ กิน” หมายถึง นำอาหารเข้าปากเคี้ยวและกลืนลงไปในคอ
(2) ความหมายในประหวัดหรือความหมายเชิงอุปมา เป็นความหมายเพิ่มจากความหมายในตรง เช่น
“ กินใจ” หมายถึง รู้สึกแหนงใจ
“ กินแรง” หมายถึง เอาเปรียบผู้อื่นในการทำงาน


กลุ่มที่ 10 องค์ประกอบของภาษาทางด้านภาษา
หลักการจัดประสบการณ์ ภาษาธรรมชาติ
            หลักการจัดการศึกษาปฐมวัยเป็นหลักสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ซึ่งผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาหลักสูตรให้เข้าใจ เพราะในการจัดประสบการณ์ให้เด็กอายุ 3 - 5 ปี จะต้องยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูควบคู่กับการให้การศึกษา โดยต้องคำนึงถึงความสนใจและความต้องการของเด็กทุกคนทั้งเด็กปกติ เด็กที่มีความสามารถพิเศษ และเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม สติปัญญา รวมทั้งการสื่อสารและการเรียนรู้หรือเด็กที่มีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ หรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแล หรือด้อยโอกาส เพื่อให้เด็กพัฒนาทุกด้านทั้งด้านอารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาอย่างสมดุล โดยการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย บูรณาการผ่านการเล่นและกิจกรรมที่เป็นประสบการณ์ตรงผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าเหมาะสมกับวัย และความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วยปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับพ่อแม่เด็กกับผู้เลี้ยงดูหรือบุคลากรที่มีความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาปฐมวัย เพื่อให้เด็กแต่ละคนได้มีโอกาสพัฒนาตนเองตามลำดับขั้นตอนของพัฒนาการสูงสุดตามศักยภาพและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข
      สรุปวีดิโอ ภาษาธรรมชาติ  
เราไม่ควรคาดหวังให้เด็กมีพัฒนาการการเรียนรู้เหมือนกันทุกคนในห้องเพราะเด็กทุกคนมีความแตกต่างกัน